Skip to content
- จากคำแนะนำของคุณหมอสูตินรีเวช รพ.ยันฮี (อ้างอิงปี 2019) แนะนำไว้ว่า หลังจากรับฮอร์โมน 1 ปี ควรพิจารณาตัดมดลูกรังไข่ และไม่ควรปล่อยไว้เกิน 5 ปี
- ส่วนคำแนะนำของคุณหมออายุรแพทย์และต่อมไร้ท่อ รพ.รามา (อ้างอิงปี 2020) แนะนำไว้ว่า หลังจากรับฮอร์โมน 1 – 2 ปี ควรพิจารณาตัดมดลูกรังไข่ได้แล้ว แต่ไม่ได้ระบุว่าควรตัดภายในกี่ปี แต่ถ้าไม่ตัด เราก็ต้องคอยตรวจโรคเกี่ยวกับมดลูกรังไข่อยู่เสมอ
เพราะเรามีความเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกรังไข่ (เช่น มะเร็ง) ได้พอ ๆ กับผู้หญิงทั่วไปเลย และบางครั้งอาจทำให้เรากลับมามีประจำเดือนอีกครั้งด้วย นอกจากนั้น บางคนที่เทคฮอร์โมนยังมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย เกิดจากสาเหตุที่รังไข่ทำงานผิดปกติจากการที่รับฮอร์โมนชายเข้าร่างกาย (แน่นอนว่าถ้าเราตัดรังไข่ทิ้งไป เราก็ไม่มีทายาททางสายเลือดแล้วนะ)
ผู้หญิงที่ตัดรังไข่ก่อนวัย 45 ปี จะมีภาวะเป็นโรคกระดูกพรุน ดังนั้น หมอจะแนะนำให้เราทานแคลเซียม+Vitamin D เป็นประจำครับ แต่คุณหมอบางท่านก็แจ้งว่าฮอร์โมนชายที่เรารับเข้ามา มันช่วยเรื่องกระดูกอยู่แล้ว ส่วนแคลเซียมทุกคนก็ควรทานครับ ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง
-
🏳️🌈 ซึ่งการตัดมดลูกรังไข่ ปัจจุบันมี 2 เทคนิค คือ การผ่าแบบกรีดหน้าท้อง และการผ่าแบบผ่านกล้อง
-
กรีดหน้าท้อง ราคาถูก เจ็บกว่าตัดหน้าอก และมีแผลเป็นยาวตรงท้องน้อย
-
ผ่านกล้อง ไม่รู้สึกเจ็บ ไม่ต้องเย็บแผล แต่รู้สึกเหมือนท้องอืด (เพราะแก๊ส) แทบไม่เห็นแผลเป็น ข้อเสีย คือ ราคาแพง แต่ถ้างบถึง ควรเลือกครับ
- ถ้าใครเคยตัดมดลูกรังไข่แบบผ่านกล้องมา จะทำให้ “ราคาตอนปิดช่องคลอด+ยืดท่อปัสสาวะ” จะแพงกว่า คนที่เคยตัดมดลูกแบบกรีดหน้าท้องมา เพราะช่องคลอดด้านในมันเหลือเยอะกว่า (เป็นราคาแบบนี้เฉพาะที่ รพ.ยันฮีนะ)
- ส่วนไม่ว่าจะเป็นกรีดหน้าท้อง หรือผ่านกล้อง ทั้งสองแบบสามารถต่อท่อปัสสาวะ + แปลงเพศแบบฟาลโล (Phalloplasty) ได้หมดครับ แต่จะมีข้อแตกต่างกัน คือ
- ถ้าใช้เนื้อแขนปั้นเป็นจู๋ และเราเคยตัดมดลูกผ่านกล้องมา ตรงนี้เราต้องโดนกรีดหน้าท้องอยู่ดี เพื่อต่อเส้นเลือด
- ถ้าใช้เนื้อขาปั้นเป็นจู๋ และเราเคยตัดมดลูกผ่านกล้องมา ตรงนี้เรา “ไม่ต้อง” โดนกรีดหน้าท้องครับ มันจะต่างกันกับแบบแขนตรงนี้